ภาษาตากาล็อก

ภาษาตากาล็อก


ภาษาตากาล็อกเป็นหนึ่งในภาษาหลักของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความสัมพันธ์กับ ภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลย์ ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮิติภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุม และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนในไต้หวันเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้เป็นภาษากลางภายในประเทศ มีผู้พูดราว 85 ล้านคน ในทางธุรกิจนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากกว่า

ภาษาตากาล็อกเรียงประโยคแบบกริยา-ประธาน-กรรม มีระบบการผันคำกริยาที่ซับซ้อนกว่าคำนาม คำขยายเรียงก่อนหรือหลังคำที่ถูกขยายก็ได้ ซึ่งทั้ง 2 แบบ จะใช้คำเชื่อมต่างกัน


>
ภาษาตากาล็อกเคยเขียนด้วยอักษรบายบายินก่อนการเข้ามาของสเปน ในศตวรรษที่ 16 อักษรนี้ประกอบด้วยสระ 3 ตัว และพยัญชนะ 14 ตัว เมื่อเทียบกับตระกูลอักษรพราหฺมี อักษรนี้มีความคล้ายคลึงกับอักษรกวิโบราณของชวา ซึ่งเชื่อว่าสืบทอดมาจากอักษรบูกิสในสุลาเวสี ต่อมาอักษรนี้ได้เลิกใช้ไป เพราะนิยมใช้อักษรละตินที่เข้ามาในช่วงที่เป็นอาณานิคมของสเปน

คำนาม
ประธานความเป็นเจ้าของกรรมรอง
เอกพจน์ ทั่วไปangng [naŋ]sa
พหูพจน์ ทั่วไปang mgang mgasa mga
บุคคล เอกพจน์sinikay
บุคคล พหูพจน์sinaninakina
คำสรรพนาม
ประธานความเป็นเจ้าของกรรมรอง
บุรุษที่ 1 เอกพจน์akókoakin
บุรุษที่ 1 ทวิพจน์kitá/katánitá/natakanitá/kanatá (ata)
บุรุษที่ 2 เอกพจน์ikáw (ka)moiyó
บุรุษที่ 3 เอกพจน์siyániyákaniyá
บุรุษที่ 1 พหูพจน์ รวมผู้ฟังtáyonátinátin
บุรุษที่ 1 พหูพจน์ ไม่รวมผู้ฟังkamínáminámin
บุรุษที่ 2 พหูพจน์kayóninyóinyó
บุรุษที่ 3 พหูพจน์silánilákanilá
คำสรรพนามชี้เฉพาะ

ประธานเจ้าของกรรมรองสถานที่ดำรงอยู่
ใกล้ผู้พูดที่สุด (นั่น, นี่)irénirédínenandineére
ใกล้ผู้พูด, บอกตำแหน่ง (นี่, ที่นี่)itónitódíto/rítonandíto/náritohéto
ตำแหน่งที่ใกล้ (ที่นั่น)iyánniyándiyán/riyánnandiyán/náriyanayán
ไกล (ที่โน่น)iyónniyóndoón/roónnandoón/nároonayón

คำกริยา

แผนผังการรวมคำ

นามกริยาการไตร่ตรองกำลังกระทำสัมบูรณ์Imperative
เน้นการกระทำ 1-um-CV-CumV--um-0
เน้นการกระทำ 2mag-magCV-nagCV-nag-pag-
เน้นการกระทำ 3ma-maCV-naCV-na-
เน้นการกระทำ 4mang-mangCV-nangCV-nang-pang-
เน้นกรรม 1-inCV- ... -inCinV--in--a
เน้นกรรม 2i-iCV-iCinV-i-in--an
เน้นกรรม 3-anCV- ... -anCinV- ... -an-in- ... -an-i
เน้นสถานที่-anCV- ... -anCinV- ... -an-in- ... -an
เน้นการใช้ประโยชน์i-iCV-iCinV-i-in-
เน้นเครื่องมือipaN-ipaNCV-ipinaNCV-ipinaN-
เน้นเหตุผลika-ikaCV-ikinaCV-ikina-

ภาษาตากาล็อกถูกประกาศให้เป็นภาษาราชการเมื่อโดยสถาบันไบก์นาบาโตเมื่อ พ.ศ. 2440ใน พ.ศ. 2478 ได้ยกเลิกการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ และได้พัฒนาภาษาราชการใหม่ขึ้นมา หลังจากการประชุมของสถาบันภาษาแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทน 7 คน จากส่วนต่างๆของฟิลิปปินส์ได้เลือกภาษาตากาล็อกให้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาภาษาประจำชาติประธานาธิบดีมานูเอล เกซอนได้ประกาศเมื่อ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2480 ว่าได้เลือกภาษาตากาล็อกเป็นพื้นฐานของการพัฒนาภาษาประจำชาติ ต่อมา ใน พ.ศ. 2482 ประธานาธิบดีมานูเอล เกซอน ได้เปลี่ยนชื่อภาษาประจำชาติ ที่มีพื้นฐานมาจากภาษาตากาล็อกว่า วีกัง ปัมบันซา (ภาษาประจำชาติ) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาปิลิปิโน ในปีเดียวกัน

ใน พ.ศ. 2516 ได้ประกาศยกเลิกการใช้ภาษาปิลิปิโนเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษ และได้พัฒนาภาษาประจำชาติขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อภาษาฟิลิปิโน

credit : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81